วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับรถดริฟท์ #5

ในครั้งที่แล้วผมได้พูดถึงระบบเบรคของรถดริฟท์ในส่วนของการติดตั้ง คาลิปเปอร์ เบรคมือคราวนี้มาต่อกันเลยกับด้ามเบรคมือ
เพราะด้ามเบรคมือปกติมันจะมีปุ่มกด เพื่่อปลดล๊อคเบรคมือ ขืนเอามาใช้กับรถดริฟท์ดึงปุ๊บค้างปั๊บชนเป้งแน่นอน เบรคมือของรถดริฟท์จึงเป็นแบบอิสระ ไม่มีการล็อคค้างเพื่อความสะดวกในการดริฟท์
แต่ถ้าอยากใช้ด้ามเบรคมือเดิมที่ติดมากับรถปกติ เราก็ต้องทำการตัดระบบล๊อคที่ด้ามเบรคมือออกก่อน หรือวิธีง่าย ๆ ก็คือกดปุ่มล๊อคที่ด้ามเบรคค้างไว้ แล้วพันด้วยสติกเกอร์หรือเทปพันสาย เพื่อให้ปุ่มมันกดตลอดเวลา แนะนำว่าทำชั่วคราวเอาไว้ลองก็พอนะครับ
เพราะนักดริฟท์ส่วนใหญ่ จะใช้เบรคมือสำหรับดริฟท์โดยตรง หรือไม่ก็ Custom made กันตามความถนัดของแต่ละคน ด้ามก็จะเป็นอลูมิเนียม และจะมีความยาวกว่าด้ามเบรคมือปกติเพื่อเพิ่มแรงดึงเบรคมือ และจะไม่มีปุ่มสำหรับกดล็อค แต่จะเป็นสลักอลูมีเนียมแทน สำหรับเรื่องการติดตั้งเช่นเคยครับ ควรให้ช่างผู้ชำนาญเป็นผู้ติดตั้งนะครับ

เริ่มจากเบรคมือธรรมดาก่อน ที่มีปุ่มไว้กดปลดล็อคเบรคมือ
 และนี้คือภาพตัวอย่างเบรคมือสำหรับดริฟท์ สังเกตุในภาพจะเป็นสลักล๊อคเบรคมือ
เบรคมือลักษณะนี้สามารถดึงได้ทั้งแนวตั้ง หรือแนวนอน เพียงแค่สลับที่ด้ามเบรคมือเท่านั้น


เครดิต : Tunespeed.com

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับรถดริฟท์ #4

มาถึงเรื่องที่ 4 ของฟอรั่ม เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับรถดริฟท์ วันนี้นำเสนอเรื่อง เบรค…..มือ !!!
เบรคมือรถดริฟท์ อาวุธสำคัญของนักดริฟท์ เคยสงสัยกันไม๊ครับว่าเบครมือของพวกนักดริฟท์มันจะเทพกว่ารถธรรมดาอย่างไรวันนี้ผมจะมาอธิบายให้ฟัง
มาเริ่มตันกันที่เบรคมือของรถปกติทั่วไปก็จะเป็นผ้าเบรคที่อยู่ในดุมของจานเบรค พอเราดึงเบรคมือผ้าเบรคก็จะถ่างออก ด้วย การดึงผ่านสายสลิง เคยสังเกตุไม๊ละครับว่าพอใช้ไปนาน ๆ ด้ามเบรคมือมันจะต้องดึงมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะว่าสลิงพอใช้ไปนาน ๆ ก็จะเกิดอาการยืดของสลิงครับ
แล้วพอเราเอารถมาทำเป็นรถดริฟท์ ในสมัยแรกก็มีการโมดิฟายผ้าเบรคมือให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ก็เรียกง่าย ๆ ว่าเอาผ้าเบรคมือไปโมกันหน่อย แต่ก็ยังคงใช้ระบบการทำงานแบบเดิม จนกระทั้งมีการพัฒนาด้วยการเพิ่ม คาลิปเปอร์เบรคเข้าไปอีกชุด นึกภาพง่าย ๆ ก็คือเราจะมีคาลิปเปอร์เบรคหลัง 2 อันคือ อันแรกก็คือเบรคที่เท้าส่วนอันที่ใส่เพิ่มเข้าไปก็เป็นคาลิปเปอร์เบรค มือ
ทีนี้เราก็มีเบรคมือที่เป็นระบบไฮโดรลิคเพื่อใช้ในการดริฟท์ ที่สามารถปรับแต่งได้สะดวกกว่าแบบมือในระบบสายสลิง อธิบายแบบคร่าว ๆ ก็คือเราทำการแยกทางเดินน้ำมันเบรคออกเป็น 2 ชุด สำหรับเบรคเท้าและเบรคมือและติดตั้งหมอลมเบรคเพิ่มอีกหนึ่งชุดสำหรับเบรคมือ นั้นเอง
การติดตั้งชุดคาลิเปอร์เบรคมือนั้นควรติดตั้งด้วยช่างผู้ชำนาญงานนะครับ เพราะถ้าเกิดมีการรั่วเกิดขึ้นละก็เบรคหายทั้งระบบเลยนะครับ

เครดิต : Tunespeed.com

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับรถดริฟท์ #3

มาถึงตอนที่ 3 เกี่ยวกับวงการแข่งดริฟท์ ในตอนที่แล้วกล่าวถึงการทำรถดริฟท์เบื้องต้นว่าต้องทำอย่างไรกันบ้างถึงจะ เป็นรถที่สามารถดริฟท์ได้ ในตอนนี้จะขอกล่าวถึงเรื่อง เอเป็ค เพื่อท่านผู้ชมเวลาไปดูดริฟท์จะได้เข้าถึงอรรถรสกันมากขึ้น ซึ่งในเรื่องนี้จะเกียวข้องกับการตัดสินของกรรมการอีกด้วย
ในการแข่งขันดริฟท์ในแต่ละสนามนั้น จะมีไลน์ในการแข่งที่ไม่เหมือนกัน ตังนั้นจะมีการประชุมนักแข่งก่อนการแข่งขันเสมอ ในการประชุมนักแข่งจะเป็นการบอกข้อกำหนดในการแข่งขันสนามนั้น ๆ ว่ากรรมการต้องการให้นักแข่งดริฟท์ในลักษณะใด และเป็นการระบุจุดเอเป็ค ในสนามนั้น ๆ ด้วย
เอเป็ค หมายถึงจุดที่รถดริฟท์จะต้องดริฟท์ให้ถึงจุดเอเป็คที่กรรมการกำหนด โดยการเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของรถเข้าไปอยู่ใน เอเป็ค ให้นานที่สุดเพื่อที่จะได้คะแนนมากด้วย
เอเป็คอยู่ตรงไหน – เอเป็คจะอยู่ในโค้งโดยกรรมการจะกำหนดไว้ ว่าโค้งไหน จะเป็นเอเป็คหน้า หรือ เอเป็คท้าย โดยจะมีการทาสีไว้บนแทร็คให้นักดริฟท์เห็นได้ชัดเจน ทำความเข้าใจง่าย ๆ คือต้องดริฟท์ให้ทับสีที่ทาอยู่บนแทร็คให้ได้ จึงจะได้คะแนนในส่วนของเอเป็ค
เอเป็คหน้าก็คือการเอาหน้ารถเข้าเอเป็คให้ชิดที่สุด เอเป็คท้ายก็คือการเอาด้านท้ายรถไปชิดเอเป็คให้นานที่สุดเช่นกัน
คราวนี้เวลาไปดูดริฟท์แล้วพิธีกรณ์พูดถึงจุดเอเป็คคงจะเข้าในกันมากขึ้นนะครับ และคงทำให้ชมดริฟท์กันสนุกมากขึ้นนะครับ




เครดิต : Tunespeed.com

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับรถดริฟท์ #2

จะเริ่มดริฟท์ ต้องทำอะไรบ้าง
มีทั้งถามว่ารถขับเคลื่อนล้อหน้าดริฟท์ได้ไม๊ หรือ รถบ้านเดิม ๆ ดริฟท์ได้ไม๊ แล้วถ้าอยากเริ่มดริฟท์ จะต้องทำอย่างไรบ้าง ก่อนอื่นคงต้องบอกว่ารถดริฟท์ที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้เป็นรถขับเคลื่อนล้อหลังกันทั้งหมด ถึงแม้จะเห็น EVO มาดริฟท์ก็มีการดัดแปลงให้เป็นรถขับเคลื่อนล้อหลังเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ
แล้วทำไมต้องขับเคลื่อนล้อหลัง – การดริฟท์คือการที่ เข้าโค้งขวาล้อหันไปทางซ้าย เข้าโค้งซ้ายล้อไปทางขวา โดยที่ล้อหลังก็จะทำหน้าที่ส่งกำลังขับเคลื่อนอย่างเดียว และการควบคุมองศารถเป็นหน้าที่ของล้อหน้า พอเข้าใจกันไม๊ครับ เพราะฉะนั้นถ้าขับเคลื่อนด้วยล้อหน้าก็ไม่สามารถเข้าโค้งด้วยอาการดริฟท์ได้ หรือ ถ้าเป็นขับเคลื่อน 4 ล้อ วงเลี้ยวในการดริฟท์ก็ คงต้องกว้างมาก ๆ เพราะว่ารถมันจะตระกรุยทั้ง 4 ล้อ สังเกตุอย่างการแข่งแรลลี่ก็เป็นรถขับเคลื่อน 4 ล้อ แต่นั้นเป็นทางฝุ่นก็เลยใช้อาการสไลด์รถมากว่าอาการดริฟท์ พอเข้าใจกันไม๊ครับกับการอธิบายแบบบ้าน ๆ แบบนี้
ส่วนที่ถามว่ารถบ้านดริฟท์ได้ไม๊ คงต้องบอกว่าพอได้ถ้ารถที่บ้านเป็น 200SX แสตนดาร์ด แต่ถ้าจะมาหัดดริฟท์แบบ จริงจังก็ต้องมีการปรับแต่งกันเล็กน้อย อย่างแรกที่ต้องมีเลยคือ ลิมิเต็ดสลิป อุปกรณ์ที่ทำให้ล้อหลังมันปั่นพร้อมกันทั้ง 2 ล้อ ซึ่งโดยปกติรถบ้านจะไม่มี หรือถ้ามีก็จะเป็น ลิมิเต็ดสลิปที่มีเปอร์เซ็นต์ต่ำ ประมาณ 30 -40 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นทำให้ล้อหลังทั้ง 2 ล้อปั่นได้ไม่พร้อมกัน ทำให้ดริฟท์ไม่ได้นะครับ
คงอธิบายในเรื่องจะเริ่มดริฟท์ ต้องทำอย่างไรไว้เท่านี้ก่อนนะครับ

รูปประกอบชัด ๆ โค้งไปทางซ้ายล้อไปทางขวาครับ
อันนี้รูปเปรียบเทียบ ระหว่างเต็ดกับไม่เต็ด 
อันนี้ไม่มีเต็ด 




เครดิต : Tunespeed.com

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับรถดริฟท์ #1

ดริฟท์ เป็นการแข่งขันรถยนต์อีกหนึ่งประเภทหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากใน ช่วง 4 ปีที่ผ่านมา แต่ในประเทศไทยมีการแข่งดริฟท์กันมาประมาณ 9 ปี แล้วก็คงเพราะกระแสของหนังเรื่อง Tokyo Drift ส่วนหนึ่งและการที่คนไทยได้ดู DVD จากประเทศญี่ปุ่นอีกส่วนหนึ่ง เริ่มแรกก็คงเป็นเพียงการแข่งขันด้วยการจับกลุ่มแข่งกันเพียงกลุ่มเล็ก ๆ อย่างที่ทราบว่าการแข่งขัน Drift Competition เริ่มแรกมีผู้เข้าแข่งขันเพียง 4 คันจนสนามปัจจุบันมีถึง 77 คัน

มาเริ่มกันตั้งแต่ออกสตาร์ทกันเลยดีกว่า ในการแข่งขันรถยนต์ในประเภทอื่น ๆ ใช้การเข้าเส้นชัยเป็นตัวตัดสินการแพ้ชนะ จึงสามารถใช้สัญญาณไฟในการออกสตาร์ทได้ แต่การแข่งขันดริฟท์เป็นการตัดสินจากคณะกรรมการที่กำหนดการดริฟท์ในแต่ละการแข่งขันไว้ล่วงหน้าซึ่งนักแข่งจะทราบตั้งการประชุมนักแข่งก่อนการแข่งขัน
ในการควอลิฟาย นักแข่งจะถูกปล่อยตัวทีละหนึ่งคัน โดยกรรมการหน้าเส้นจะเป็นผู้ให้สัญญาณ ส่วนในรอบแบทเทิ้ล (วิ่งพร้อมกัน 2 คัน) กรรมการหน้าเส้นจะให้นักแข่ง Eye Contact คือให้มีความพร้อมกันทั้ง 2 คันก่อน กรรมการจึงจะให้สัญญาณปล่อยตัว โดยนักแข่งทั้ง 2 คันให้สัญญาณด้วยการ Eye Contact (อาจจะพยักหน้า หรือยกนิ้วให้ก็ได้) ซึ่งกันและกัน และ กลับมามองสัญญาณที่กรรมการ แล้วจึงออกตัวพร้อมกัน เพื่อความไม่ได้เปรียบหรือเสียเปรียบซึงกันและกัน

 เครดิต : Tunespeed.com

เทคนิคการดริฟท์


เทคนิคการดริฟ
มันมีหลายวิธีเพื่อที่จะดริฟ ซึ่งได้แก่ (หมายเหตุ : ควรปิดระบบ ABS และ TCS ก่อน
เพราะระบบเหล่านี้ถูกสร้างมาเพื่อกันไม่ให้รถเกิดการสไลด์)
-Braking Drift- การดริฟชนิดนี้ทำได้โดยการ เหยียบเบรกอย่างต่อเนื่องจนเข้าสู่โค้ง
เพื่อที่ว่าจะได้ทำให้รถนั้นสามารถถ่าย น้ำหนักและทำให้ล้อหลังสูญเสียแรงยึดเกาะ
จากนั้นก็ควบคุมการดริฟด้วยพวงมาลัยและคันเร่ง การปรับอัตราการจับของเบรกก็ช่วยในการดริฟท์ได้
ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับสไตล์การขับของแต่ล่ะคน โดยปกติแล้ว หากอัตราการจับของเบรกค่อน
ไปทางล้อหลังจะช่วยให้เกิดการดริฟได้ดีกว่า
-Power Over Drift- การดริฟชนิดนี้ทำได้โดยการ เข้าโค้งทั้ง ๆ ที่เหยียบคันเร่งเต็มที่ก่อให้เกิดการ
โอเวอร์สเตียร์เมื่อถึงโค้ง มันเป็นวิธีดริฟโดยทั่วไปสำหรับพวกรถขับเคลื่อน 4 ล้อ
(ได้ผลดีกว่ารถขับเคลื่อนล้อหลัง) Keiichi Tsuchiya เคยบอกว่าเค้าก็เคยใช้เทคนิคนี้เมื่อตอนที่
เค้ายังหนุ่ม และกลัวที่จะดริฟเมื่อถึงโค้ง แต่อย่างไรก็ตาม เทคนิคนี้จะก่อให้เกิดอาการล้อฟรีทิ้ง
มากกว่าการดริฟหากเข้าด้วยมุมที่ผิด
-Inertia (Feint) Drift- เทคนิคนี้สามารถทำได้โดยการโยกรถไปในทิศทางตรงกันข้ามกับโค้ง
และหลังจากนั้น ก็อาศัยแรงเฉื่อยของรถ เพื่อเหวี่ยงรถกลับมาในทิศทางของโค้ง
จากการที่เราหักหัวออกนอกโค้ง และหักกลับมาอย่างเร็ว คุณก็จะได้มุมที่ดีกว่าในบางครั้ง
การเบรกระหว่างที่เหวี่ยงรถไปในทิศทางตรงกันข้ามกับโค้งนั้นก็ช่วยในเรื่อง
ของการถ่ายเทน้ำหนักเช่นกัน และจะทำให้เข้าโค้งได้ดีกว่าเดิมอีก
นักดริฟมืออาชีพหลายคนกล่าวไว้ว่า นี่เป็นหนึ่งในเทคนิคทำได้ยากที่สุด
เนื่องจากมีโอกาสหมุนสูง
-Handbrake/ebrake Drift- เทคนิคนี้ค่อนข้างจะง่าย ดึงเบรกมือเพื่อให้ด้านหลังสูญเสีย
แรงยึดเกาะและควบคุมการดริฟด้วยพวงมาลัยและการเดินคันเร่ง
มีบางคนถกเถียงกันในเรื่องนี้ว่าการใช้เบรกมือนั้น ก่อให้เกิดการดริฟ
หรือเป็นเพียงแค่พาวเวอร์สไลด์ แต่ในท้ายที่สุดแล้ว การใช้เบรกมือก็ไม่ต่างจากเทคนิคอื่น ๆ
ที่ใช้ ดริฟ โดยทั่วไปแล้วนี่เป็นเทคนิคหลักสำหรับการดริฟรถขับเคลื่อนล้อหน้า
นี่เป็นเทคนิคแรกที่มือใหม่จะใช้ หากรถของเค้าไม่มีแรงกำลังมากพอที่จะทำให้
รถสูญเสียแรงยึดเกาะด้วยเทคนิคอื่น ๆ และเทคนิคนี้ก็ใช้กันอย่างมาก
ในการแข่งดริฟท์เพื่อดริฟในโค้งกว้าง
-Dirt Drop Drift- เทคนิคนี้ทำได้โดยการให้ล้อหลังของรถตกลงไปข้างทาง
ที่เป็นดินเพื่อรักษาหรือ เพื่อให้ได้มุมการดริฟโดยไม่สูญเสียกำลังหรือความเร็ว
และเพื่อที่จะเตรียมสำหรับโค้งต่อไป เทคนิคนี้ใช้ได้เฉพาะกับถนนที่ไม่มีแผงกั้น
และมีดินหรือฝุ่นหรืออะไรอย่าง อื่นที่ทำให้สามารถสูญเสียแรงยึดเกาะได้
นี่เป็นเทคนิคที่ใช้กันโดยทั่วไปในการแข่งแรลลี่ WRC
-Clutch Kick- เทคนิคนี้ทำได้โดยการเบิ้ลคลัทช์ (การเหยียบและปล่อยปกติจะกระทำมากกว่า
1 ครั้งในการดริฟเพื่อการแต่งโค้งด้วยความรวดเร็ว) เพื่อให้แรงขับเคลื่อนเกิดการสะดุด
ทำให้รถเสียสมดุลมันทำให้ล้อหลังเกิดอาการลื่นไถล และ ทำให้คนขับสามารถก่ออาการโอเวอร์สเตียร์ได้
-Choku Dori- นี่เป็นเทคนิคขั้นสูงซึ่งเกี่ยวข้องกับการ ใช้หนี่งในเทคนิคที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อ
เริ่มการดริฟ จากนั้นก็ใช้เบรกมือเพื่อการยืดการดริฟในโค้ง
-Changing Side Swing- เทคนิคนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในการแข่ง D1
ในญี่ปุ่น และมีความคล้ายคลึงกับ Inertia (Feint) Drift เป็นอย่างมาก
ส่วนมากมันจะถูกใช้ในตอนที่จะดริฟโค้งแรก ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นโค้ง Double Apex
และอยู่ต่อจากทางตรงยาว หากทางตรงยาวที่อยู่ก่อนโค้ง Double Apex
นั้นมีลักษณะเป็นทางลง นักขับจะขับชิดขอบสนามด้านในโค้ง จากนั้น ด้วยการกะจังหวะที่ถูกต้อง
นักขับจะเหวี่ยงหักรถไปอีกด้านนึงทันที การทำแบบนี้ ทำให้โมเมนตัมของรถเปลี่ยนไป
ทำให้ล้อหลังสูญเสียแรงยึดเกาะ ตอนนี้รถอยู่ในช่วงดริฟแล้ว
หลังจากนั้นก็ดริฟอย่างต่อเนื่องไปจนผ่านโค้ง
-Manji Drift- เทคนิคนี้ใช้ตอนดริฟท์บนทางตรง ผู้ขับจะเหวี่ยงรถสลับข้างไปมาระหว่างดริฟ
ซึ่งดูน่าทึ่งมาก มันสามารถใช้เป็นเทคนิคนำก่อนจะใช้เทคนิคต่อ ๆ ไปในข้างต้นก็ได้
-Dynamic Drift- เทคนิคนี้จะคล้าย ๆ กับ Choku Dori มันใช้รูปแบบของเทคนิคด้านบนทั้งหมด
และไม่จำกัดเพียงแค่ 1 เทคนิค นำมารวมกันเพื่อให้ได้การดริฟที่วางเอาไว้

เครดิต : Tunespeed.com

กฎ – กติกา – ดริฟท์

สวัสดีเพื่อน ๆ พี่ ๆ ชาวดริฟท์กันนะครับ เห็นหลายท่านเวลาไปดูการแข่งขันแล้วไม่ค่อยเข้าใจกติกากันซักเท่าไหร่ ผมก็เลยลองสรุป เอาแบบภาษาชาวบ้านมาให้อ่านกันนะครับ
การให้คะแนนในรอบควอลิฟาย
1.   จะมีการกำหนด ความเร็วในจุดเริ่มต้นดริฟท์ ด้วยการใช้ Speed Gun ในการจับความเร็วโดยจะเป็นค่าเฉลี่ยในการซ้อมของทุกคัน
2.   มีการกำหนด เอเป็ก ไม่ว่าจะเป็น เอเป็กด้านหน้า หรือด้านหลัง นักแข่งจะต้องเข้าให้ถึงจุดที่กำหนดไว้เพื่อที่จะได้คะแนนในแต่ละเอเป็กนั้น
3.   นักแข่งจะต้องขับขี่ให้อยู่ในอาการ ดริฟท์ ตลอดการแข่งขัน และ จะต้องมีการดริฟท์ที่ต่อเนื่องโดยกรรมการจะคอยดูการแต่งอาการรถว่าเกิดขึ้น มากน้อยเพียงใด นักแข่งที่ขับได้ดีจะมีการแต่งอาการที่น้อยมากหรือไม่มีเลย จะได้คะแนนในสวนนี้ไป
4.   ในเรื่องของ Style คือคะแนน ของ ควันยาง เสียงคันเร่งทีดุดันและต่อเนื่อง
การให้คะแนนในรอบ แบทเทิล
1.   การจับคู่แบทเทิล จะเป็นการจัดลำดับ โดยเอาผู้ที่ได้คะแนน อันดับ 1 มา เจอกับลำดับสุดท้ายอย่างเช่น มีทั้งหมด 10 คัน คันที่ได้คะแนน คันที่ 1 เจอ คันที่ 10 คันที่ 2 เจอคันที่ 9
2.   คะแนนแบทเทิลจะเป็นคะแนน เต็ม 10 ผู้แข่งขันทั้ง 2 คันจะต้องแย่งชิงคะแนนกันนี้กันอย่างเช่น 7 /3 หรือ 6/4 หรือถ้าเสมอก็จะเป็น 5/5
3.   การแข่งขันแบทเทิล จะต้องแข่งขัน 2 รอบ ผลัดกันเป็นผู้นำคนละ 1 รอบโดยที่คันนำจะต้องวิ่งในไลน์ที่ตนเองใช้ในรอบควอลิฟาย คันที่ตามก็ต้องตามไลน์คันหน้า(ถือว่าคันหน้าเป็น เอเป็ก)
4.   ในการแบทเทิล ผู้ตามก็ต้องตามคันหน้าให้ชิดที่สุด โดยต้องวิ่งในไลน์เดียวกับคันหน้าและ อยู่ในอาการดริฟท์ คันนำก็ต้องพยายามหนีคันตาม ด้วยการดริฟท์เช่นกัน
ทั้งหมดเป็นกติกา แบบคร่าว ๆ นะครับ เพื่อให้คนที่ไปดูดริฟท์ จะได้ดูสนุกมากขึ้น นะครับ

เครดิต : Tunespeed.com

มาทำความรู้จักDriftกันครับ

การดริฟ(Drift) คือการเข้าโด้งด้วยการสไลด์รถเข้าไปในโค้งด้วยความเร็วและมุมล้อ
ที่ตรงกันข้ามกับโค้ง คือ โค้งซ้ายล้อไปขวา โค้งขวาล้อไปทางซ้าย หน้าที่ล้อหลังคือ
การผลักรถออกจากโค้ง ล้อหน้าทำหน้าที่ในการปรับมุมองศารถ ยิ่งหักล้อมากรถก็จะขวางมากขึ้น
ถ้าจะอธิบายภาพรวมก็คือ นักดริฟท์ ทำให้รถเสียอาการ และสามารถควบคุมอาการนั้น ๆ
ได้อย่างต่อเนื่องจนจบ ถ้าถามว่า นักดริฟท์ ควบคุมอะไรบ้าง ก็คงต้องตอบว่าควบคุมให้รถ
ไม่ตรงและไม่หมุน เพราะการดริฟท์อาการของรถดริฟ จะมีอาการโอเวอร์เสตียร์ตลอดทางแปลว่า
ถ้ามากไปก็หมุน น้อยไปก็ตรง นักดริฟท์จึงต้องควบคุมรถไว้ในอาการ ดริฟ เท่านั้น


สำหรับคำถามที่ว่ารถผมก็ขับหลังดริฟได้หรือไม่ คงต้องบอกว่าสิ่งที่รถดริฟทุกคันต้องมีคือ “ลิมิเต็ดสลิป”
คือสิ่งที่ทำให้ล้อที่ขับเคลื่อน (ในที่นี้คือ ล้อหลัง) ส่งกำลังไปเท่า ๆ กันทั้งล้อซ้ายและล้อขวา
ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการดริฟครับ ซึ่งถ้าไม่มี “ลิมิเต็ดสลิป” ก็จะเกิดอาการล้อหลังหมุนล้อเดียว
ก็จะไม่เกิดอาการดริฟ

เครดิต : Tunespeed.com

แนะนำตังเอง จ่ะ ^^

กระผม นายชนินทร์  ศรีนา ชื่อเล่น มิ้ว คร้าบบ

เกิดวันที่ 16 มกราคม 2535

อยู่บ้านเลขที่ 144 หมู่ 6  ต. แมดนาท่ม  อ. โคกศรีสุพรรณ  จ. สกลนคร  47280

คติ ประจำใจ หยุดฝัน ก็ไปไม่ถึง

มีความสนใจเกี่ยวกับ รถดริฟท์(DRIFT)