วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการดริฟท์


เทคนิคการดริฟ
มันมีหลายวิธีเพื่อที่จะดริฟ ซึ่งได้แก่ (หมายเหตุ : ควรปิดระบบ ABS และ TCS ก่อน
เพราะระบบเหล่านี้ถูกสร้างมาเพื่อกันไม่ให้รถเกิดการสไลด์)
-Braking Drift- การดริฟชนิดนี้ทำได้โดยการ เหยียบเบรกอย่างต่อเนื่องจนเข้าสู่โค้ง
เพื่อที่ว่าจะได้ทำให้รถนั้นสามารถถ่าย น้ำหนักและทำให้ล้อหลังสูญเสียแรงยึดเกาะ
จากนั้นก็ควบคุมการดริฟด้วยพวงมาลัยและคันเร่ง การปรับอัตราการจับของเบรกก็ช่วยในการดริฟท์ได้
ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับสไตล์การขับของแต่ล่ะคน โดยปกติแล้ว หากอัตราการจับของเบรกค่อน
ไปทางล้อหลังจะช่วยให้เกิดการดริฟได้ดีกว่า
-Power Over Drift- การดริฟชนิดนี้ทำได้โดยการ เข้าโค้งทั้ง ๆ ที่เหยียบคันเร่งเต็มที่ก่อให้เกิดการ
โอเวอร์สเตียร์เมื่อถึงโค้ง มันเป็นวิธีดริฟโดยทั่วไปสำหรับพวกรถขับเคลื่อน 4 ล้อ
(ได้ผลดีกว่ารถขับเคลื่อนล้อหลัง) Keiichi Tsuchiya เคยบอกว่าเค้าก็เคยใช้เทคนิคนี้เมื่อตอนที่
เค้ายังหนุ่ม และกลัวที่จะดริฟเมื่อถึงโค้ง แต่อย่างไรก็ตาม เทคนิคนี้จะก่อให้เกิดอาการล้อฟรีทิ้ง
มากกว่าการดริฟหากเข้าด้วยมุมที่ผิด
-Inertia (Feint) Drift- เทคนิคนี้สามารถทำได้โดยการโยกรถไปในทิศทางตรงกันข้ามกับโค้ง
และหลังจากนั้น ก็อาศัยแรงเฉื่อยของรถ เพื่อเหวี่ยงรถกลับมาในทิศทางของโค้ง
จากการที่เราหักหัวออกนอกโค้ง และหักกลับมาอย่างเร็ว คุณก็จะได้มุมที่ดีกว่าในบางครั้ง
การเบรกระหว่างที่เหวี่ยงรถไปในทิศทางตรงกันข้ามกับโค้งนั้นก็ช่วยในเรื่อง
ของการถ่ายเทน้ำหนักเช่นกัน และจะทำให้เข้าโค้งได้ดีกว่าเดิมอีก
นักดริฟมืออาชีพหลายคนกล่าวไว้ว่า นี่เป็นหนึ่งในเทคนิคทำได้ยากที่สุด
เนื่องจากมีโอกาสหมุนสูง
-Handbrake/ebrake Drift- เทคนิคนี้ค่อนข้างจะง่าย ดึงเบรกมือเพื่อให้ด้านหลังสูญเสีย
แรงยึดเกาะและควบคุมการดริฟด้วยพวงมาลัยและการเดินคันเร่ง
มีบางคนถกเถียงกันในเรื่องนี้ว่าการใช้เบรกมือนั้น ก่อให้เกิดการดริฟ
หรือเป็นเพียงแค่พาวเวอร์สไลด์ แต่ในท้ายที่สุดแล้ว การใช้เบรกมือก็ไม่ต่างจากเทคนิคอื่น ๆ
ที่ใช้ ดริฟ โดยทั่วไปแล้วนี่เป็นเทคนิคหลักสำหรับการดริฟรถขับเคลื่อนล้อหน้า
นี่เป็นเทคนิคแรกที่มือใหม่จะใช้ หากรถของเค้าไม่มีแรงกำลังมากพอที่จะทำให้
รถสูญเสียแรงยึดเกาะด้วยเทคนิคอื่น ๆ และเทคนิคนี้ก็ใช้กันอย่างมาก
ในการแข่งดริฟท์เพื่อดริฟในโค้งกว้าง
-Dirt Drop Drift- เทคนิคนี้ทำได้โดยการให้ล้อหลังของรถตกลงไปข้างทาง
ที่เป็นดินเพื่อรักษาหรือ เพื่อให้ได้มุมการดริฟโดยไม่สูญเสียกำลังหรือความเร็ว
และเพื่อที่จะเตรียมสำหรับโค้งต่อไป เทคนิคนี้ใช้ได้เฉพาะกับถนนที่ไม่มีแผงกั้น
และมีดินหรือฝุ่นหรืออะไรอย่าง อื่นที่ทำให้สามารถสูญเสียแรงยึดเกาะได้
นี่เป็นเทคนิคที่ใช้กันโดยทั่วไปในการแข่งแรลลี่ WRC
-Clutch Kick- เทคนิคนี้ทำได้โดยการเบิ้ลคลัทช์ (การเหยียบและปล่อยปกติจะกระทำมากกว่า
1 ครั้งในการดริฟเพื่อการแต่งโค้งด้วยความรวดเร็ว) เพื่อให้แรงขับเคลื่อนเกิดการสะดุด
ทำให้รถเสียสมดุลมันทำให้ล้อหลังเกิดอาการลื่นไถล และ ทำให้คนขับสามารถก่ออาการโอเวอร์สเตียร์ได้
-Choku Dori- นี่เป็นเทคนิคขั้นสูงซึ่งเกี่ยวข้องกับการ ใช้หนี่งในเทคนิคที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อ
เริ่มการดริฟ จากนั้นก็ใช้เบรกมือเพื่อการยืดการดริฟในโค้ง
-Changing Side Swing- เทคนิคนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในการแข่ง D1
ในญี่ปุ่น และมีความคล้ายคลึงกับ Inertia (Feint) Drift เป็นอย่างมาก
ส่วนมากมันจะถูกใช้ในตอนที่จะดริฟโค้งแรก ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นโค้ง Double Apex
และอยู่ต่อจากทางตรงยาว หากทางตรงยาวที่อยู่ก่อนโค้ง Double Apex
นั้นมีลักษณะเป็นทางลง นักขับจะขับชิดขอบสนามด้านในโค้ง จากนั้น ด้วยการกะจังหวะที่ถูกต้อง
นักขับจะเหวี่ยงหักรถไปอีกด้านนึงทันที การทำแบบนี้ ทำให้โมเมนตัมของรถเปลี่ยนไป
ทำให้ล้อหลังสูญเสียแรงยึดเกาะ ตอนนี้รถอยู่ในช่วงดริฟแล้ว
หลังจากนั้นก็ดริฟอย่างต่อเนื่องไปจนผ่านโค้ง
-Manji Drift- เทคนิคนี้ใช้ตอนดริฟท์บนทางตรง ผู้ขับจะเหวี่ยงรถสลับข้างไปมาระหว่างดริฟ
ซึ่งดูน่าทึ่งมาก มันสามารถใช้เป็นเทคนิคนำก่อนจะใช้เทคนิคต่อ ๆ ไปในข้างต้นก็ได้
-Dynamic Drift- เทคนิคนี้จะคล้าย ๆ กับ Choku Dori มันใช้รูปแบบของเทคนิคด้านบนทั้งหมด
และไม่จำกัดเพียงแค่ 1 เทคนิค นำมารวมกันเพื่อให้ได้การดริฟที่วางเอาไว้

เครดิต : Tunespeed.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น